นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิคเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้อนุมัติแผนการแยกส่วนบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ซึ่งเป็นธุรกิจเรือธงของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในการดำเนินธุรกิจเพลงแบบครบวงจร เพื่อระดมเงินทุนในการสร้างการเจริญเติบโตให้กับอุตสาหกรรมเพลง นำเงินไปขยายธุรกิจในหลายภาคส่วน เพื่อสะท้อนให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ ขยายอุตสาหกรรมเพลงทั้งตลาด และเป็นการพลิกธุรกิจวงการเพลงของไทยครั้งใหญ่

“ตอนนี้อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกได้เติบโตกลับมาถึงจุดที่เรียกว่า “Music Second Wave” ซึ่งหมายความว่า อุตสาหกรรมทั่วโลกมียอดรายรับ “ทะลุจุดสูงสุดที่เคยสร้างไว้ในอดีต” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “อุตสาหกรรมเพลงได้กลับมาสู่จุดรุ่งเรืองสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง และกำลังเติบโตขึ้น” จากตัวเลขการคาดการรายรับ อุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกจะเติบโตขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ภายในปี 73 ซึ่งแน่นอนว่าเหตุผลหลักของการเติบโตนั้น มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ การเติบโตของธุรกิจดิจิทัล สตีมมิ่ง และการเติบโตของธุรกิจโชว์บิส ที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้ การแยกธุรกิจในครั้งนี้ จะทำให้มูลค่าของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค สะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริง ในอุตสาหกรรมเพลง ซึ่งเรามีความพร้อมที่จะขยายตัวได้อีกมาก ปีนี้เป็นปีที่บริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ มีอายุครบรอบ 40 ปี เราต้องมองไปข้างหน้าว่าจะทำอะไรอย่างไรต่อไป”

สำหรับกลยุทธ์ที่จะเดินหน้า 1.ขยายการผลิต เป็นอีกเท่าตัวจากการผลิตในปัจจุบัน เช่น เพลงจาก 400 เพลงต่อปี เป็น 1,000 เพลงต่อปี ศิลปินจาก 120 ศิลปิน เป็น 200 ศิลปินภายใน 5 ปี Playlist เข้าสู่ Streaming Platform จาก 3,000 Playlists เป็น 6,000 Playlists ต่อปี Full Album จาก 30 อัลบั้มต่อปี เป็น 50 อัลบั้มต่อปี

2.ขยายงานการจัดมิวสิก เฟสติวัล ครอบคลุมสูงสุดทั่วประเทศ รองรับจำนวนผู้ชมมากกว่า 500,000 คนต่อปี ด้วยความตั้งใจร่วมมือกับทุกค่ายเพลง กับพันธมิตรทั้งใน และต่างประเทศ ในการขยาย Segment เดินหน้าสู่การเป็นผู้จัด International Fan Meeting & Concert อย่างเป็นรูปธรรมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

3. ขยายพันธมิตรทางดนตรี ร่วมจับมือกับค่ายเพลงในประเทศไทย ผ่านการ M&A หรือ JV (Joint Venture) เพื่อสร้าง Synergy Value ในการขยายการผลิต และการเติบโตทางธุรกิจทุกช่องทาง ร่วมกันสร้างให้อุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตใหญ่ยิ่งขึ้นในระบบเศรษฐกิจมหภาค โดยสามารถสร้างการขยายตัวได้ทั้งในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ พร้อมการสร้างรายได้ที่มากขึ้น

4. ขยายการจับมือกับบริษัทชั้นนำในต่างชาติผ่านการ JV สร้างงานเพลง และส่งเสริมศิลปินไทย เดินหน้าสู่ศักยภาพ และมาตรฐานใหม่ในระดับสากล เป็นไทยแลนด์ ซอฟต์ พาวเวอร์ ซึ่งการเดินหน้าจับมือในครั้งนี้ บริษัทได้วางแผนที่จะจับมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้นำในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา, สแกนดิเนเวีย, จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านในแถบ Southeast Asia

5. ขยายวงล้อมการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพในทุกรูปแบบ และทุกช่องทางการสื่อสาร

6. ขยายศักยภาพการบริหารจัดการข้อมูล Big Data ผ่านการลงทุนเพิ่มด้าน Data Scientist Machine Learning และระบบ AI พร้อมสร้าง Tools ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งในเชิงการค้า การบริหารจัดการ และการพัฒนาศิลปิน รองรับธุรกิจแห่งอนาคตที่ให้ความสำคัญด้าน Personalization Offering

7. ขยายทีมงานแห่งอนาคตด้วยการลงทุนในบุคลากรรุ่นใหม่ ซึ่งเต็มไปด้วยความเชี่ยวชาญใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเติมเต็ม สืบทอด ต่อยอด รองรับการก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจเพลง

นายฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค กล่าวว่า หากสามารถสร้างความร่วมมือ และพันธมิตรได้มากขึ้นเป็น 2 เท่า ตลาดก็น่าที่จะเติบโตได้เป็น 2 เท่าเช่นกัน ซึ่งปัจจุบัน จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้เจรจา และอยู่ในขั้นตอนการสรุปกับพันธมิตรต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ คาดว่า สามารถประกาศความร่วมมือต่าง ๆ ได้ภายในไตรมาส 3 ถึงไตรมาส 4 ของปี 66 นี้

ปัจจุบัน GMM MUSIC มีที่มาของรายได้จาก 5 แหล่งธุรกิจหลัก ได้แก่

1คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. Music Digital Business มียอดรายได้ที่ 1,152 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 34%

2. Music Artist Management Business มียอดรายได้ที่ 1,177 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 35%

3. Showbiz Business มียอดรายได้ที่ 678 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 20%

4. Right Management Business มียอดรายได้ที่ 234 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 7%

5. Physical Business มียอดรายได้ที่ 147 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 4%

By admin