นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ไทยเป็นแหล่งนำเข้าผลไม้อันดับ 1 ของจีน และมีส่วนแบ่งในตลาดผลไม้ของจีนถึง 41.3% สะท้อนศักยภาพสินค้าไทย พร้อมแนะผู้ประกอบการคงคุณภาพ มาตรฐานของผลไม้ เตรียมความพร้อมเพื่อส่งออกไปยังตลาดจีนในรายมณฑล รวมถึงตลาดอื่น ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม
ตร.เผย 5 สินค้ายอดฮิต หลอกขายผ่านเพจปลอม แนะ 11 ข้อควรระวัง
ผลไม้กลิ่นแรง ใช้ทำอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน-ชาร์จไฟได้เร็วขึ้น คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ไทยถือเป็นอันดับ 1 ในการส่งออกผลไม้ไปยังจีน โดยในปี 2565 ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดผลไม้ของจีนถึง 41.3%
ปัจจุบันสำนักงานศุลกากรจีน (GACC) อนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยกว่า 22 ชนิด ได้แก่ มะขาม น้อยหน่า มะละกอ มะเฟือง ฝรั่ง เงาะ ลองกอง ละมุด เสาวรส ส้มเปลือกล่อน ส้ม ส้มโอ สับปะรด กล้วย มะพร้าว ขนุน ลำไย ทุเรียน มะม่วง ลิ้นจี่ มังคุด และชมพู่
ผลไม้สดที่ไทยครองตลาดสำคัญในจีน
- ทุเรียน มีส่วนแบ่งการตลาด 95.3%
- ลำไย มีส่วนแบ่งการตลาด 99.3%
- มังคุด มีส่วนแบ่งการตลาด 86.8%
- มะพร้าว มีส่วนแบ่งการตลาด 69.2%
- น้อยหน่า มีส่วนแบ่งการตลาด 100%
- ชมพู่ มีส่วนแบ่งการตลาด 100%
- เงาะ มีส่วนแบ่งการตลาด 82.4%
ผลไม้ไทยมีส่วนแบ่งทางการตลาดและเป็นที่ต้องการในต่างประเทศอย่างมาก ถือเป็นโอกาสสำคัญของเกษตรกรและผู้ประกอบการของไทยในการพัฒนาคุณภาพ กระบวนการผลิต การจัดการเพื่อการส่งออกผลไม้ไทย รวมถึงรัฐบาลผลักดันนโยบายการกระจายตลาด ลดความเสี่ยงในการพึ่งพาตลาดเดียว โดยกระจายตลาดส่งออกผลไม้ไปยังตลาดใหม่ ๆ ที่มีกำลังซื้อ และขยายตลาดลงสู่ระดับมณฑลของจีนให้มากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ผลไม้ไทยเข้าสู่ตัวเมืองชั้นในของจีนมากขึ้น
การรักษาคุณภาพ มาตรฐานด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย และคุณภาพของผลไม้ โดยสั่งการอย่างต่อเนื่องให้ส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้าทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ พร้อมส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเพื่อหาช่องทางการส่งออกที่มีศักยภาพเพิ่มเติม ให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำเสนอสินค้าไทยให้เป็นที่รู้จัก เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และเพิ่มมูลค่าทางการค้าให้กับประเทศต่อไป